วันอาทิตย์ที่ 12 สิงหาคม พ.ศ. 2555

พระเจ้าวายุ-อยุธยา

   


  พระเจ้าวายุเกิดเมื่อปี2112(เสียกรุง) ครองราชย์เมื่อปี2148 อายุ36ปี เดิมเป็นอยุธยา



 สมัยพระเจ้าวายุ มีพระราชประวัติมาตั้งแต่สมัยพระเจ้าอโยธที่1(พระสรรักษ์)ประมาณพ.ศ.2130
เป็นลูกของนางแม้น แม่ค้าในตลาด ที่จริงแล้ว พระเจ้าวายุ เป็นหลานของหลวงอเนกวรนัย แต่ชีวิตแสนเศซร้า หลังสงครามเสียกรุง แล้วชีวิตพลิกผันมีความสามรถในการรบ จึงเข้าสังกัดหลวงของขุนจำนง

วันเสาร์ที่ 11 สิงหาคม พ.ศ. 2555

พระเจ้าอโยธที่2



    สมเด็จพระเจ้าอโยธที่2 เป็นพระอนุชาในสมเด็จพระเจ้าอโยธที่1หรือสมเด็จพระสรรักษ์ธิราช
ครองราชย์ช่วง2143-2148(5ปี)
    สมเด็จพระเจ้าอโยธที่2อยูหลังช่วงเสียกรุงมาแล้ว สมัยนี้ถือว่ารุ่งเรืองที่สุดในอาณาจักรอโยธ  แต่ก็ต้องปราบหัวเมืองที่แตกแยกในสมัยเสียกรุง พระเจ้าอโยธที่2หรือสมเด็จพระจริญเอกา ให้
เจ้าพระยาบวรเดช ไปครองเมืองตองอู อาณาจักรอโยธพอกับอาณาจักรอยุธยา แต่ก็ยังอยู่สมัยพระเนรศวร อยุธยาก็รุ่งเรืองเช่นเดียวกัน แต่สมเด็จพระเจ้าอโยธที่2ไม่มีพระชายา 2148จึงให้เจ้าพระยาวายุราชศึกพ่ายเป็นกษัตริย์ เพราะตนไม่เชี่ยวชาญด้านรบเหมือนเจ้าพระยาวายุราชศึกพ่าย เป็นสมเด็จพระมหาพระเจ้าวายุเทพนารักษ์สืบอาณาจักรต่อมา และได้เปลื่ยนราชวงศ์ประมาณวันที่29 พฤศจิกายน 2148


สมเด็จพระเจ้าอโยธธิราชที่1 ตอน2


   อีก5ปีต่อมา(2133) สมเด็จพระนเรศวร ขึ้นครองราชย์ สมเด็จพระเจ้าอโยธธิราชที่1 กังวลอย่างหนัก เพราะตอนนี้สมเด็จพระนเรศวรขึ้นครองราชย์ และจะล้มอำนาจได้ไม่ช้า เกิดสงครามมาเรี่อยๆ 
2142สมัยพระเจ้าตองอูเผาเมืองหงสาวดีสำเร็จ แต่สมเด็จพระเจ้าอโยธที่1(สรรักษ์กษัตริย์)ได้นำกำลังพลยกทัพไปตีตองอู สำเร็จ ปลงพระชนม์พระเจ้าตองอู(ไม่ทราบพระนาม)สวรรคต สมเด็จพระเจ้าอโยธที่ี1ได้ครองอาณาจักรตองอูที่ยิ่งใหญ่ไพศาล แต่ไม่มีการกล่าวพระนามกษัตริย์ในสมัย2142-2148
และสมเด็จพระเจ้าอโยธที่ี1สวรรคตในเวลาต่อมาในปี 2143 
ท่านครองราชย์ช่วง2107-2143 รวม35ปี กษัตริย์ที่ครองยาวนานมาก ผ่านยุคกษัตริย์อยุธยา4พระองค์


ชีวิตส่วนพระองค์

พระราชประวัติของสมเด็จพระราชสังขีตส่วนใหญ่ได้จากพงศาวดารอู่ทอง ซึ่งปรากฏพระนามพระนามพระมเหสี 3-4 พระองค์ โดยมีพระนามดังนี้[42]
  1. นางคีรีมาราชเทวี
  2. นางอุมากรเทวี



พระเจ้าอโยธที่1(พระสรรักษ์)



  พ.ศ.2107 รัชสมัยของพระเจ้าอโยธที่1(พระสรรักษ์)ช่วง2107-2143
ได้ครองราชย์แทนสมเด็จพระมหาธรรมในสมัย(2095-2107)เกิดการเสียกรุงขึ้น อีกทั้งอาณาจักรอโยธเหลือแค่เมืองอู่ทอง
ไฟล์:Amphoe 7209.png

 เท่านั้น แต่ก็ยังหวังให้อโยธเป็นแผ่นดินใหญ่ จึงไปตีเมืองกาญจน์สำเร็จแต่ก็ยังไม่สามารถยึดอยุธยาได้
จนมาถึงปี2111 สมเด็จพระมหาจักรพรรดิ (พระเทียรราชา) สวรรคต สมเด็จพระมหินทราธิราช (พระราชโอรสพระมหาจักรพรรดิ) ขึ้นครองราชย์เพียง1ปีถูกพระยาจักรีปลงพระชนม์ เห็นอาณาจักรแตกแยกจึงจะกำจัด แต่ไม่สำเร็จ หงสาวดีหนุนหลังสมเด็จพระมหาธรรมราชาธิราช (พระราชบุตรเขยในพระมหาจักรพรรดิ)ในปี2112 แต่พม่าใจดีให้อโยธครองต่อได้ แต่เป็นประเทศราชของตน จนมาถึง
 เมื่อปี พ.ศ. 2126 พระเจ้าอังวะเป็นกบฎ เนื่องจากไม่พอใจทางกรุงหงสาวดีอยู่หลายประการ จึงแข็งเมืองพร้อมกับเกลี้ยกล่อมเจ้าไทยใหญ่อีกหลายเมืองให้แข็งเมืองด้วย พระเจ้าหงสาวดีนันทบุเรงจึงยกทัพหลวงไปปราบ ในการณ์นี้ได้สั่งให้เจ้าเมืองแปรเจ้าเมืองตองอูและเจ้าเมืองเชียงใหม่ รวมทั้งทางกรุงศรีอยุธยาด้วย ให้ยกทัพไปช่วยทางไทย สมเด็จพระมหาธรรมราชาโปรดให้สมเด็จพระนเรศวรยกทัพไปแทน[16]
สมเด็จพระนเรศวรยกทัพออกจากเมืองพิษณุโลก เมื่อวันแรม 6 ค่ำ เดือน 3 ปีมะแม พ.ศ. 2126 พระองค์ยกทัพไทยไปช้า ๆ เพื่อให้การปราบปรามเจ้าอังวะเสร็จสิ้นไปก่อน ทำให้พระเจ้าหงสาวดีนันทบุเรงแคลงใจว่า ทางไทยคงจะถูกพระเจ้าอังวะชักชวนให้เข้าด้วย จึงสั่งให้พระมหาอุปราชาคุมทัพรักษากรุงหงสาวดีไว้ถ้าทัพไทยยกมาถึงก็ให้ต้อนรับและหาทางกำจัดเสีย และพระองค์ได้สั่งให้พระยามอญสองคน คือ พระยาเกียรติและพระยาราม ซึ่งมีสมัครพรรคพวกอยู่ที่เมืองแครงมาก[16] และทำนองจะเป็นผู้คุ้นเคยกับสมเด็จพระนเรศวรมาแต่ก่อน ลงมาคอยต้อนรับทัพไทยที่เมืองแครง อันเป็นชายแดนติดต่อกับไทย พระมหาอุปราชาได้ตรัสสั่งเป็นความลับว่า เมื่อสมเด็จพระนเรศวรยกกองทัพขึ้นไป ถ้าพระมหาอุปราชายกเข้าตีด้านหน้าเมื่อใด ให้พระยาเกียรติและพระยารามคุมกำลังเข้าตีกระหนาบทางด้านหลัง ช่วยกันกำจัดสมเด็จพระนเรศวรเสียให้จงได้ พระยาเกียรติกับพระยารามเมื่อไปถึงเมืองแครงแล้วได้ขยายความลับนี้แก่พระมหาเถรคันฉ่องผู้เป็นอาจารย์ของตน ทุกคนไม่มีใครเห็นดีด้วยกับแผนการของพระเจ้ากรุงหงสาวดี เพราะมหาเถรคันฉ่องกับสมเด็จพระนเรศวรเคยรู้จักชอบพอกันมาก่อน[17]
กองทัพไทยยกมาถึงเมืองแครง เมื่อวันขึ้น 1 ค่ำ เดือน 6 ปีวอก พ.ศ. 2127 โดยใช้เวลาเดินทัพเกือบสองเดือน กองทัพไทยตั้งทัพอยู่นอกเมือง เจ้าเมืองแครงพร้อมทั้งพระยาเกียรติกับพระยารามได้มาเฝ้าฯ สมเด็จพระนเรศวร จากนั้นสมเด็จพระนเรศวรได้เสด็จไปเยี่ยมพระมหาเถรคันฉ่องซึ่งคุ้นเคยกันดีมาก่อน พระมหาเถรคันฉ่องมีใจสงสารจึงกราบทูลถึงเรื่องการคิดร้ายของทางกรุงหงสาวดี แล้วให้พระยาเกียรติกับพระยารามกราบทูลให้ทราบตามความเป็นจริง เมื่อพระองค์ได้ทราบความโดยตลอดแล้ว ก็มีพระราชดำริเห็นว่าการเป็นอริราชศัตรูกับกรุงหงสาวดีนั้น ถึงกาลเวลาที่จะต้องเปิดเผยต่อไปแล้ว จึงได้มีรับสั่งให้เรียกประชุมแม่ทัพนายกอง กรมการเมือง เจ้าเมืองแครงรวมทั้งพระยาเกียรติพระยารามและทหารมอญมาประชุมพร้อมกัน แล้วนิมนต์พระมหาเถรคันฉ่องและพระสงฆ์มาเป็นสักขีพยาน ทรงแจ้งเรื่องให้คนทั้งปวงที่มาชุมนุม ณ ที่นั้นทราบว่า พระเจ้าหงสาวดีคิดประทุษร้ายต่อพระองค์ จากนั้นพระองค์ได้ทรงหลั่งน้ำลงสู่แผ่นดินด้วยสุวรรณภิงคาร (พระน้ำเต้าทองคำ) ประกาศแก่เทพยดาฟ้าดินว่า "ด้วยพระเจ้าหงสาวดี มิได้อยู่ในครองสุจริตมิตรภาพขัตติยราชประเพณี เสียสามัคคีรสธรรม ประพฤติพาลทุจริต คิดจะทำอันตรายแก่เรา ตั้งแต่นี้ไป กรุงศรีอยุธยาขาดไมตรีกับกรุงหงสาวดีมิได้เป็นมิตรร่วมสุวรรณปฐพีเดียวกันดุจดังแต่ก่อนสืบไป"[17]
จากนั้นพระองค์ได้ตรัสถามชาวเมืองแครงว่าจะเข้าข้างฝ่ายใด พวกมอญทั้งปวงต่างเข้ากับฝ่ายไทย สมเด็จพระนเรศวรจึงให้จับเจ้าเมืองกรมการพม่าแล้วเอาเมืองแครงเป็นที่ตั้งประชุมทัพ เมื่อจัดกองทัพเสร็จก็ทรงยกทัพจากเมืองแครงไปยังเมืองหงสาวดีเมื่อวันแรม 3 ค่ำ เดือน 6[17]
ฝ่ายพระมหาอุปราชาที่อยู่รักษาเมืองหงสาวดี เมื่อทราบว่าพระยาเกียรติพระยารามกลับไปเข้ากับสมเด็จพระนเรศวร จึงได้แต่รักษาพระนครมั่นอยู่ สมเด็จพระนเรศวรเสด็จยกทัพข้ามแม่น้ำสะโตงไปใกล้ถึงเมืองหงสาวดี ได้ทราบความว่า พระเจ้ากรุงหงสาวดีมีชัยชนะได้เมืองอังวะแล้ว กำลังจะยกทัพกลับคืนพระนคร พระองค์เห็นว่าสถานการณ์ครั้งนี้ไม่สมคะเน เห็นว่าจะตีเอาเมืองหงสาวดีในครั้งนี้ยังไม่ได้ จึงให้กองทัพแยกย้ายกันเที่ยวบอกพวกครัวไทยที่พม่ากวาดต้อนไปแต่ก่อนให้อพยพกลับบ้านเมือง ได้ผู้คนมาประมาณหมื่นเศษให้ยกล่วงหน้าไปก่อน พระองค์ทรงคุมกองทัพยกตามมาข้างหลัง[18]
ในพิธีนี้พระเจ้าอโยธที่1(พระสรรักษ์)ปลอมเป็นทหารด้วย อโยธไม่ใช่ประเทศราชพม่าอีกต่อไปในปี2127 อายุ36ปี ได้ชุดกษัตริย์ พร้อมหมู่วายุ


วันศุกร์ที่ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2555

พระมหาธรรม


เมื่อปี2095
  หลังจากรัชสมัยพระเจ้าสังขีต พระมหาธรรม ตอนนั้นเหมือนอาณาจักรอโยธจะล่มสลาย เพราะสมัยสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ (พระเทียรราชา)ได้ขับไล่พระมหาธรรมออกไปเลยต้องหลบหนีออกไป
ตอนนั้น พระธรรมราชาอายุ17ปี ก็หนีไปที่ล้านนา จึงไปมีเมืองหลวงและเมืองอโยธพร้อมกำลังพลในอาณาจักรขึ้นไปเมืองล้านนา
ปี2107 อายุ29ปี ได้เข้ามารับราชการใหม่ แต่โดนประหารชีวิต ถึงไม่ได้อยู่บัลลังก์ก็ถือว่าเป็นกษัตริย์ เพราะได้ปราบดาภิเศกแล้วโดยสมบูรณ์
พระมหาธรรมหรือสมเด็จพระมหาธรรมไม่มีพระชายาเพราะตอนที่อยู่ล้านนาทำงานหนักจนได้เป็นแค่อำมาตย์ล้านนาเท่านั้น หลังจากนั้น น้องชายของสมเด็จพระมหาธรรม คือพระสรรักษ์

สมัยก่อนหน้าสมเด็จพระมหาธรรม สมัยถัดไป
สมเด็จพระราชสังขีต
ราชวงศ์อู่ทอง (เสียกรุงครั้งที่ ๑)
2leftarrow.pngGaruda Emblem of Thailand.svg
พระมหากษัตริย์ไทย
อาณาจักรอโยธ

(พ.ศ. 2087 - พ.ศ. 2095)
2rightarrow.pngสมเด็จพระเจ้าอโยธที่1
ราชวงศ์อู่ทอง


   หลังจากนั้นเกิดการเสียกรุงขึ้น

การเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่หนึ่ง

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
การเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่หนึ่ง
เป็นส่วนหนึ่งของ ความขัดแย้งพม่า-อยุธยา
วันที่พ.ศ. 2111-2112
สถานที่อาณาจักรอยุธยา
ผลลัพธ์อาณาจักรพม่าได้รับชัยชนะ; กรุงศรีอยุธยาตกเป็นเมืองขึ้นของอาณาจักรพม่า; พระบรมวงศานุวงศ์ส่วนหนึ่งถูกนำพระองค์ไปยังพม่า
คู่สงคราม
Flag of Thailand (Ayutthaya period).svg อาณาจักรอยุธยาอาณาจักรหงสาวดี
ผู้บัญชาการ
Flag of Thailand (Ayutthaya period).svg สมเด็จพระมหาจักรพรรดิพระเจ้าบุเรงนอง
พระมหาอุปราชา
กำลัง
ไม่ทราบ500,000 นาย[1]
การเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่หนึ่ง เป็นส่วนหนึ่งของความขัดแย้งระหว่างอาณาจักรพม่าและอาณาจักรอยุธยา อันเป็นผลมาจากความต้องการของพระเจ้าบุเรงนองซึ่งต้องการได้กรุงศรีอยุธยาเป็นประเทศราช[2] และอาจถือได้ว่าเป็นผลสืบเนื่องมาจากสงครามช้างเผือก ในปี พ.ศ. 2106 ที่ทรงตีกรุงศรีอยุธยาไม่สำเร็จ[3]
ความขัดแย้งภายในกรุงศรีอยุธยาระหว่างสมเด็จพระมหาจักรพรรดิกับเจ้าเมืองพิษณุโลก พระมหาธรรมราชา ซึ่งมีพระทัยฝักใฝ่พม่า ได้นำไปสู่ความพินาศของกรุงศรีอยุธยาในที่สุด[2] จนกระทั่ง สมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงประกาศอิสรภาพให้กับอาณาจักรอยุธยาในอีก 15 ปีต่อมา

เนื้อหา

  [ซ่อน

[แก้]เบื้องหลัง

[แก้]พระเฑียรราชาขึ้นครองราชย์

หลังจากพระเฑียรราชาขึ้นครองราชย์ ทรงพระนามว่า สมเด็จพระมหาจักรพรรดิพระองค์ได้ทรงสถาปนาขุนพิเรนทรเทพ ซึ่งเป็นราชนิกูลข้างพระราชมารดาแต่เดิมขึ้นเป็นเจ้า ทรงนามว่า สมเด็จพระมหาธรรมราชาธิราช กรุงหงสาวดีเห็นว่าเป็นช่วงผลัดแผ่นดินจึงบุกโจมตีกรุงศรีอยุธยา เรียกว่าสงครามพระเจ้าตะเบ็งชเวตี้เมื่อพระมหาจักรพรรดิทรงทราบจึงทรงนำทัพออกต้านศึก และในขณะที่พระมหาจักรพรรดิทรงกระทำยุทธหัตถีกับ พระเจ้าแปรอยู่ ช้างพระที่นั่งของพระมหาจักรพรรดิก็เสียที ทำให้พระเจ้าแปรไล่ชน แต่สมเด็จพระสุริโยทัยได้นำช้างมาขวาง ทำให้พระศรีสุริโยทัยเสด็จสวรรคต หลังจากนั้นกรุงศรีอยุธยาก็ส่งเรือรบไปยิงค่ายพม่า ทำให้พม่าต้องถอยทัพกลับหงสาวดี เมื่อกลับถึงเมืองพระเจ้าตะเบ็งชะเวตี้กลับยึดติดกับการตีกรุงศรีอยุธยาไม่ได้จึงทรงติดสุราอย่างหนักจนออกว่าราชการไม่ได้ต้องให้บุเรงนองผู้เป็นพระญาติเป็นผู้สำเร็จราชการแทน
จากนั้นพวกมอญก็ได้ลวงพระเจ้าตะเบ็งชะเวตี้ไปลอบปลงพระชนม์แล้วยึดหงสาวดีไปได้ต่อมาพระเจ้าบุเรงนองได้นำกำลังเข้ายึดหงสาวดีกลับคืนมา และก็นำกองทัพเข้ากรุงศรีอยุธยาหมายจะตีอยุธยา เรียกว่าสงครามช้างเผือก ตอนแรกทรงส่งสาส์นมาขอช้างเผือก สมเด็จพระมหาจักรพรรดิได้ส่งพระราชสาส์นตอบกลับไปว่า "ถ้าประสงค์จะได้ช้างเผือกก็ให้เสด็จมาเอาโดยพระองค์เองเถิด" ทำให้พระเจ้าบุเรงนองถือเอาสาส์นนี้เป็นเหตุยกทัพเข้ามาตีกรุงศรีอยุธยา

[แก้]สงครามช้างเผือก

ในปี พ.ศ. 2106 พระเจ้าบุเรงนองทรงยกทัพเข้ามาตีกรุงศรีอยุธยา โดยเข้ามาทางด่านแม่ละเมา กำลังประมาณ 500,000 คนพร้อมด้วยช้าง ม้า และอาวุธยุทโธปกรณ์จำนวนมาก โดยยกเข้ามาทางเมืองตาก ด้วยกำลังมากกว่าสามารถยึดหัวเมืองเหนือได้เกือบทั้งหมดโดยสะดวกจนมาถึงเมืองพิษณุโลก พระมหาธรรมราชาได้ทรงสู้เป็นสามารถและทำการป้องกันเมืองอย่างดี พระเจ้าบุเรงนองจึงขอเจรจา พระมหาธรรมราชาจึงส่งพระสงฆ์จำนวน 4 รูป เพื่อทำการเจรจาแต่ไม่เป็นผลสำเร็จ อีกทั้งในเมืองยังขาดเสบียง และเกิดไข้ทรพิษขึ้นในเมืองระบาด ด้วยสมเด็จพระมหาธรรมราชาเกรงว่าหากขืนสู้รบต่อไปด้วยกำลังคนที่น้อยกว่าอาจทำให้เมืองเมืองพิษณุโลกถูกทำลายลงเหมือนกับหัวเมืองเหนืออื่นๆก็เป็นได้ พระมหาธรรมราชา จึงยอมอ่อนน้อมต่อพระเจ้ากรุงหงสาวดี
พระเจ้าบุเรงนอง ทรงบังคับให้พระมหาธรรมราชาและเจ้าเมืองอื่นๆถือน้ำกระทำสัตย์ให้อยู่ใต้บังคับของพม่าทำให้พิษณุโลกต้องแปรสภาพเป็นเมืองประเทศราชของหงสาวดีและไม่ขึ้นต่อกรุงศรีอยุธยา แล้วให้พระธรรมราชาครองเมืองพิษณุโลกดังเดิม แต่อยู่ในฐานะเป็นหัวเมืองประเทศราชของหงสาวดี พระเจ้าบุเรงนองทรงขอพระนเรศวรไปเป็นองค์ประกันที่หงสาวดีในปี พ.ศ. 2107 พร้อมทั้งสั่งให้ยกทัพตามลงมาเพื่อตีกรุงศรีฯด้วย
พระองค์รบชนะทัพอยุธยาที่ชัยนาท และลงมาตั้งค่ายล้อมพระนครทั้ง 4 ทิศ กองทัพพม่ายกมาประชิดเขตเมืองใก้ลทุ่งลุมพลีพระมหาจักรพรรดิทรงให้กองทัพบก เรือ ระดมยิงใส่พม่าเป็นสามารถ แต่สู่ไม่ได้จึงถอย ทางพม่าจึงยึดได้ป้อมพระยาจักรี(ทุ่งลุมพลี) ป้อมจำปา ป้อมพระยามหาเสนา(ทุ่งหันตรา) แล้วล้อมกรุงศรีฯอยู่นาน พระมหาจักรพรรดิทรงเห็นว่าพม่ามีกำลังมากการที่จะออกไปรบเพื่อเอาชัย คงจะยากนัก จึงทรงสั่งให้เรือรบนำปืนใหญ่ล่องไปยิงทหารพม่าเป็นการถ่วงเวลาให้ เสบียงอาหารหมดหรือเข้าฤดูน้ำหลากพม่าคงจะถอยไปเอง แต่พม่าได้เตรียมเรือรบ และปืนใหญ่มาจำนวนมากยิงใส่เรือรบไทยพังเสียหายหมด แล้วตั้งปืนใหญ่ยิงเข้ามา ในพระนครทุกวัน ถูกชาวบ้านล้มตาย บ้านเรือน วัด เสียหายเป็นอย่างมาก แต่ถึงแม้ว่าพม่าจะยิงปืนใหญ่เข้าสู่พระนครเป็นระยะ ๆ แต่ก็ไม่สามารถเข้าสู่ตัวเมืองได้
พระเจ้าบุเรงนองจึงมีพระราชสาส์นให้สมเด็จพระมหาจักรพรรดิทรงเลือกจะรบให้รู้แพ้รู้ชนะหรือเลือกยอมสงบศึก โดยที่สมเด็จพระมหาจักรพรรดิทรงเลือกสงบศึก[4] อยุธยาจึงต้องยอมปฏิบัติตามข้อเรียกร้องของพม่า โดยมอบช้างเผือก 4 ช้างให้แก่พม่า มอบตัวบุคคลที่คัดค้านไม่ให้ส่งช้างเผือกแก่พม่าเมื่อครั้งก่อนสงครามช้างเผือก ได้แก่ พระราเมศวร(พระราชบุตรในพระมหาจักรพรรดิ) เจ้าพระยาจักรีมหาเสนา และพระสมุทรสงคราม ไปเป็นตัวประกัน[5] ส่งช้างให้แก่พม่าปีละ 30 เชือก ส่งเงินให้แก่พม่าปีละ 300 ชั่ง และให้พม่ามีสิทธิเก็บภาษีอากรในเมืองมะริด[5] โดยมีการเจรจาขึ้นบริ้วณสถานที่ประทับชั่วคราวระหว่างวัดพระเมรุสาธิการรามกับวัดหัศดาวาส[2]โดยสมเด็จพระมหาจักรพรรดิทรงต่อรองขอดินแดนของอยุธยาทั้งหมดที่พระเจ้าบุเรงนองยึดไว้คืน พระเจ้าบุเรงนองก็ถวายคืนแต่โดยดี จากนั้นพม่าก็ถอยกลับไปหงสาวดี
ถึงแม้ว่าพม่าจะได้รับประโยชน์จากข้อตกลงดังนี้ แต่พระเจ้าบุเรงนองยังไม่ทรงประสบความสำเร็จในการได้กรุงศรีอยุธยาเป็นเมืองประเทศราช[2] ดังนั้น พระเจ้าบุเรงนองจึงทรงพยายามดำริหาวิธีในการเอาชนะกรุงศรีอยุธยา ก่อนที่จะมารบอีกครั้งหนึ่ง

[แก้]พระมหาธรรมราชาเอาพระทัยออกห่าง

พระมหาธรรมราชาทรงแสดงท่าทีฝักใฝ่พม่าตั้งแต่ระยะหลังสงครามช้างเผือกแล้ว โดยทรงยินยอมส่งกำลังหทารไปช่วยพระเจ้าบุเรงนองล้อมเมืองเชียงใหม่ตามที่ติดต่อมา การเอาพระทัยออกห่างเช่นนี้เป็นการบั่นทอนความมั่นคงของประเทศ[3] ราวปี พ.ศ. 2108 พระมหาธรรมราชาทรงส่งข่าวเรื่องการทรงพระราชทานพระเทพกษัตรีแก่พระเจ้าไชยเชษฐาธิราชที่ 1 แห่งอาณาจักรล้านช้าง แต่ถูกกองทัพพม่าดักชิงตัวไปกลางทาง ทำให้การกระชับความสัมพันธ์ระหว่างอยุธยากับล้านช้างล้มเหลวลง[3]
สมเด็จพระมหาจักรพรรดิทรงทราบก็ทรงเสียพระทัย จึงเสด็จไปประทับที่วังหลัง ให้พระมหินทร์พระโอรสว่าราชการแทน เมื่อพระชนมายุประมาณ 59 พรรษา ต่อมาได้เสด็จออกผนวชใน พ.ศ. 2109 โดยมีข้าราชการออกบวชด้วยจำนวนมาก โดยพระมหินทร์ พระราชโอรสทรงได้ว่าราชการแทนต่อมาทรงมีเรื่องกินแหนงแคลงใจกับพระมหาธรรมราชาจนเกิดความร้าวฉานระหว่างพิษณุโลกกับกรุงศรีอยุธยาเนื่องจากพระองค์สมคบพระไชยเชษฐาเจ้าเมืองเชียงใหม่ยกทัพไปตีเมืองพิษณุโลกเพื่อกำจัดพระมหาธรรมราชา จนพระองค์มิอาจรั้งราชการแผ่นดินจึงทูลเชิญให้สมเด็จพระมหาจักรพรรดิลาผนวชหลังจากที่ทรงผนวชได้ไม่นาน แล้วกลับมาว่าราชการตามเดิม

[แก้]ก่อนเสียกรุง

ต่อมา พระมหาธรรมราชาเสด็จไปเฝ้าพระเจ้าบุเรงนองในปี พ.ศ. 2108 โดยทรงกล่าวโทษว่าอยุธยาวางแผนกำจัดพระองค์ พระเจ้าบุเรงนองจึงให้พระมหาธรรมราชาเป็นเจ้าเมืองประเทศราช ทรงพระนามว่า พระศรีสรรเพชญ์ เจ้าฟ้าพิษณุโลก หรือ เจ้าฟ้าสองแคว อันอยู่ในฐานะกบฎต่ออาณาจักรอยุธยา[6]
พระมหาจักรพรรดิกับพระมหินทร์เสด็จขึ้นไปเมืองพิษณุโลกในขณะที่พระมหาธรรมราชาเสด็จไปหงสาวดีแล้วนำพระวิสุทธิกษัตรีพร้อมด้วยพระเอกาทศรถมาอยู่ที่กรุงศรีอยุธยา เมื่อพระมหาธรรมราชาทราบเรื่องจึงให้ไปเข้ากับหงสาวดีอย่างเปิดเผย ถึงแม้ว่าสมเด็จพระมหาจักรพรรดิจะทรงนำพระชายา พระโอรสและพระธิดาของพระมหาธรรมราชาลงมายังอยุธยา โดยหวังว่าพระมหาธรรมราชาจะไม่ทรงกล้าดำเนินการใด ๆ ต่อกรุงศรีอยุธยา แต่ก็การณ์มิได้เป็นเช่นนั้น[1]เมื่อพระมหาธรรมราชาเมื่อทราบว่าพระอัครชายาและโอรสธิดาถูกจับเป็นองค์ประกันก็ทรงวิตกยิ่งนัก แล้วรีบส่งสาสน์ไปยังพระเจ้าหงสาวดีให้ยกทัพมาตีกรุงศรีอยุธยา
ก่อนการเสียกรุง พ.ศ. 2112 พระมหาธรรมราชาได้ทรงส่งกองทัพมาร่วมล้อมกรุงศรีอยุธยาร่วมกับทัพใหญ่ของพระเจ้าบุเรงนองด้วย และได้ปฏิบัติหน้าที่สำคัญในกองทัพพม่าด้วย และในปี พ.ศ. 2112 พระเจ้าไชยเชษฐาธิราชที่ 1 แห่งล้านช้างทรงส่งกองทัพเข้าช่วยเหลือกรุงศรีอยุธยา พระมหาธรรมราชาก็ทรงปลอมเอกสารลวงให้กองทัพล้านช้างนำทัพผ่านบริเวณที่ทหารพม่าคอยดักอยู่ กองทัพล้านช้างจึงแตกพ่ายกลับไป[7]

[แก้]การเตรียมการของฝ่ายอยุธยา

สมเด็จพระมหาจักรพรรดิทรงให้เตรียมการป้องกันบ้านเมืองเพิ่มเติม ดังนี้[1]
  1. สร้างป้อมและหอรบเพิ่มเติม โดยหอรบอยู่ห่างกันหอละ 40 เมตร รวมทั้งเสริมกำแพงให้แข็งแกร่งขึ้น
  2. จัดปืนใหญ่ไว้ตามกำแพงเมืองเป็นจำนวนมาก โดยห่างกันเพียงกระบอกละ 10 เมตร
  3. โปรดให้สร้างแนวกำแพงขึ้นใหม่โดยให้ชิดกับคูเมืองทุกด้าน
  4. ให้สร้างหอรบไว้กลางลำน้ำที่เป็นคูเมืองแล้วเอาปืนใหญ่ติดตั้งไว้บนนั้น

[แก้]ลำดับเหตุการณ์เสียกรุง

พระเจ้าบุเรงนองทรงนำทัพเข้ารุกรานกรุงศรีอยุธยาในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2111 ยกเข้ามาทางด่านแม่ละเมา เมืองตาก รวมทั้งหมด 7 ทัพ ประกอบด้วย พระมหาอุปราชา เจ้าเมืองแปร เจ้าเมืองตองอู เจ้าเมืองอังวะ เจ้าเมืองเชียงใหม่ และเชียงตุง เข้ามาทางเมืองกำแพงเพช โดยได้เกณฑ์หัวเมืองทางเหนือรวมทั้งเมืองพิษณุโลกมาร่วมสงครามด้วย รวมจำนวนได้กว่า 500,000 นาย[1] ยกทัพลงมาถึงพระนครในเดือนธันวาคมปีเดียวกัน โดยให้พระมหาธรรมราชาเป็นกองหลังดูแลคลังเสบียง ทัพพระเจ้าบุเรงนองก็ตั้งค่ายรายล้อมพระนครอยู่ไม่ห่าง[1] การตั้งรับภายในพระนครส่งผลให้มีการระดมยิงปืนใหญ่ของข้าศึกทำลายอาคารบ้านเรือนอยู่ตลอด ทำให้ได้รับความเสียหายอย่างมาก
ฝ่ายกรุงศรีอยุธยาเมื่อทราบว่าหัวเมืองทางเหนือเป็นของพม่าแล้ว จึงเตรียมรบ อยู่ที่พระนคร นำปืนนารายณ์สังหารยิงไปยังกองทัพพระเจ้าหงสาวดีที่ตั้งอยู่บริเวณทุ่งลุมพลี ถูกทหาร ช้าง ม้าล้มตายจำนวนมาก พม่าจึงถอยทัพมาตั้งที่บ้านพราหมณ์ให้พ้นทางปืน แล้วพระเจ้าหงสาวดีจึงเรียกประชุมการศึก พระมหา อุปราชเห็นสมควรให้ยกทัพเข้าตีไทยทุกด้านเพราะมีกำลังมากกว่า แต่พระเจ้าหงสาวดีไม่เห็นด้วยเพราะกรุงศรีอยุธยามีทำเลดีมีน้ำล้อมรอบ จึงสั่งให้ตีเฉพาะด้านตะวันออกเพราะคูเมืองแคบที่สุด พม่าพยายามจะทำสะพานข้ามคูเมืองโดยนำดินมาถมเป็นสะพาน พระมหาเทพนายกองรักษาด่านอย่างเต็มสามารถ โดยให้ทหารไทยใช้ปืนยิงทหารพม่าที่ขนดินถมเป็นสะพานเข้ามา ทำให้พม่าล้มตายจำนวนมากจึงถอยข้ามคูกลับไป
พระเจ้าบุเรงนองทรงพยายยามโจมตีอยู่นานจนถึงเดือนเมษายน พ.ศ. 2112 ก็ยังไม่ได้กรุงศรีอยุธยา อีกทั้งยังสูญเสียกำลังพลเป็นจำนวนมาก[8] พระองค์ทรงพยายามเปลี่ยนที่ตั้งค่ายอยู่หลายระยะ โดยในภายหลังทรงย้ายค่ายเข้าไปใกล้กำแพงเมืองจนทำให้สูญเสียพลอย่างมาก ระหว่างการสงครามสมเด็จพระมหาจักรพรรดิทรงประชวรและสวรรคตในเวลาต่อมา สมเด็จพระมหินทร์ขึ้นครองราชและทรงบันชาการรบแทน
พระเจ้าบุเรงนองจึงถามพระมหาธรรมราชาว่าจะ ทำอย่างไรให้ชนะศึกโดยเร็ว พระมหาธรรมราชาทรงแนะว่าพระยารามเป็นแม่ทัพสำคัญให้ได้ตัวมาการยึดพระนครจักสำเร็จ จึงมีสาสน์มาถึงพระอัครชายาว่า "...การศึกเกิดจากพระยารามที่ยุยงให้พี่น้องต้องทะเลอะกัน ถ้าส่งตัวพระยารามมา ให้พระเจ้าหงสาวดีจะยอมเป็นไมตรี..." สมเด็จพระมหินทร์ฯทรงอ่านสาสน์แล้ว ปรึกษากับข้าราชการต่างๆจึงเห็นสมควรสงบศึกเพราะผู้คนล้มตายกันมากแล้ว สมเด็จพระมหินทร์ฯทรงรับสั่งให้ส่งพระสังฆราชออกไปเจรจาและส่งตัวพระยารามให้พระเจ้าบุเรงนองเพื่อเป็นไมตรี แต่พระเจ้าบุเรงนองตบัตสัตย์ไม่ยอมเป็นไมตรี ทำให้สมเด็จพระมหินทร์ฯทรงพิโรธโกรธแค้นในการกลับกลอกของพระเจ้าบุเรงนองอย่างมาก ทรงรับสั่งให้ขุนศึกทหารทั้งปวงรักษาพระนครอย่างเข้มแข็ง พระเจ้าบุเรงนองเห็นว่ายังไม่สามารถตีกรุงศรีอยุธยาไม่ได้ จึงส่งพระมหาธรรมราชามาเกลี้ยกล่อมให้ยอมแพ้แต่ถูก ทหารไทยเอาปืนไล่ยิงจนต้องหนีกลับไป
พระเจ้าหงสาวดีจึงคิดอุบายจะใช้พระยาจักรีที่จับตัวได้เป็นประกันเมื่อครั้งสงครามช้างเผือกเป็นใส้ศึก จึงให้พระมหาธรรมราชาทรงเกลี้ยกล่อมพระยาจักรีให้เป็นไส้ศึกในกรุงศรีอยุธยา แล้วแกล้งปล่อยตัวออกมา รุ่งเช้าพม่าทำทีเป็นตามหาแต่ไม่พบเลยจับตัวผู้คุมมาตัดหัวเสียบไว้ริมแม่น้ำเพื่อให้ไทยหลงกล
สมเด็จพระมหินทร์ฯทรงดีพระทัยที่พระยาจักรีหนีมาได้จึงทรงแต่งตั้งให้เป็นผู้บังคับบัญชาการรบแทนที่พระยาราม ครั้นพระยาจักรีได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งรักษาพระนครแล้วจึงดำเนินการสับเปลี่ยนหน้าที่ของฝ่ายต่าง ๆ จนกระทั่งการป้องกันพระนครอ่อนแอลง พระยาจักรีได้ใส่ ร้ายให้พระศรีสาวราชว่าเป็นกบฏจึงถูกสำเร็จโทษ เมื่อเห็นว่าได้เวลาอันควรพระยาจักรีจึงให้สัญญาณแก่พม่าเข้าตีกรุงศรีอยุธยาทุกด้าน และทำให้กองทัพพม่าเข้าสู้พระนครสำเร็จโดยใช้เวลาเพียง 1 เดือน[7]
ในวันที่ 7 สิงหาคม พ.ศ. 2112 (เดือน๙ไทย) พระยาจักรีจึงให้สัญญาณแก่พม่าเข้าตีกรุงศรีอยุธยาและเปิดประตูเมือง ทำให้ทัพพม่าเข้ายึดพระนครสำเร็จ กรุงศรีอยุธยาจึงตกเป็นเมืองขึ้นของพม่า

[แก้]หลังสงคราม

พระเจ้าบุเรงนองประทับอยู่ที่กรุงศรีอยุธยาจนกระทั่ง วันศุกร์ขึ้นหกค่ำ เดือนสิบสอง ปีมะเส็ง พ.ศ. 2112 ได้อภิเษกให้สมเด็จพระมหาธรรมราชาธิราช ขึ้นเป็นกษัตริย์ครองกรุงศรีอยุธยา ในฐานะประเทศราช ทรงพระนามว่า สมเด็จพระสรรเพชญที่ 1 บางแห่งเรียก ''พระสุธรรมราชา''
สมเด็จพระมหินทราธิราช พระบรมวงศานุวงศ์ และขุนนางน้อยใหญ่ ได้ถูกนำไปกรุงหงสาวดีด้วยแต่สมเด็จพระมหินทร์ทรงประชวรและสวรรคตระหว่างทางไปกรุงหงสาวดี
พม่าเข้ายึดทรัพย์สินและกวาดต้อนผู้คนกลับไปพม่าเป็นจำนวนมาก โดยเหลือให้รักษาเมืองเพียง 1,000 คน คนที่เหลือก็หนีไปหลบอาศัยอยู่ที่อื่น บ้านเรือนและสิ่งปลูกสร้างทั้งหลายได้รับความเสียหายเป็นอันมาก[9] อาณาจักรอยุธยาจึงตกเป็นเมืองขึ้นของพม่าเป็นเวลานาน 15 ปี

[แก้]สาเหตุ

  1. เกิดความแตกสามัคคีกันระหว่างสมเด็จพระมหินทราธิราชกับพระมหาธรรมราชาเนื่องมาจากการยุยงของข้าศึก
  2. ไทยขาดกำลังใจต่อสู้เนื่องจากสมเด็จพระมหาจักรพรรดิสวรรคตในขณะบัญชาการศึก
  3. พระยาจักรีซึ่งเป็นแม่ทัพไทยเป็นไส้ศึกให้แก่พม่า